ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนได้?

อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคอื่น ๆ ทั้งนี้ มีผลข้างเคียงจากโรคและยาบางประเภทที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน1 ด้วยเหตุนี้การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างทันท่วงทีจึงเป็นสิ่งสำคัญ และมีเพียงแพทย์เท่านั้นที่สามารถวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริงของอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนและกำหนดวิธีรักษาได้

ภาวะต่าง ๆ ในหูชั้นใน

โดยส่วนใหญ่ อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนเกิดจากภาวะต่าง ๆ ในหูชั้นใน เช่น

  1. โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกเวียนศีรษะบ้านหมุนขณะเปลี่ยนท่าทาง โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อนเป็นความผิดปกติของหูชั้นในที่ทำให้อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนขณะเปลี่ยนท่าทางเกิดขึ้นซ้ำ ๆ2
  2. โรคเส้นประสาทการทรงตัวในหูอักเสบ สามารถกระตุ้นอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน และทำให้เกิดการอักเสบของหูชั้นใน3
  3. โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นภาวะหนึ่งของหูชั้นใน ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนอย่างรุนแรงและเกิดขึ้นซ้ำ ๆ4
  4. อาการเวียนศีรษะจากไมเกรน เป็นคำที่ใช้สำหรับความสัมพันธ์ทุกรูปแบบระหว่างไมเกรนกับอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน5

ปัจจัยอื่น ๆ ที่กระตุ้นอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน มีดังนี้

  • การตั้งครรภ์: ผู้หญิงอาจมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนได้ในระหว่างการตั้งครรภ์เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน นอกจากนี้ การตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดอาการคัดจมูก6 ซึ่งอาจทำให้เกิดแรงดันในหู
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง7: ภาวะนี้ส่งผลกระทบต่อสมองและไขสันหลัง ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดปัญหาการทรงตัว
  • ภาวะขาดน้ำ8: ซึ่งทำให้เกิดภาวะน้ำในร่างกายไม่เพียงพอและอาจนำไปสู่อาการวิงเวียนศีรษะ
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ9: ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอาจกระตุ้นให้เกิดภาวะเหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย และอาการปวดศีรษะ
  • โรคพาร์กินสัน10: เป็นโรคที่มาจากความผิดปกติของระบบประสาทที่ส่งผลกระทบต่อสมอง ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันอาจมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน
  • การบาดเจ็บที่ศีรษะและคอ11: การบาดเจ็บเหล่านี้อาจทำให้หูชั้นในเสียหาย และกระตุ้นให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนที่มักเรียกว่า “อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนที่เกิดภายหลังการบาดเจ็บ”
  • โรคหลอดเลือดสมอง: โรคนี้เกิดขึ้นเมื่อเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง12 โรคหลอดเลือดสมองอาจส่งผลกระทบต่อส่วนต่าง ๆ ของสมอง ซึ่งมีผลต่อการทรงตัวและทำให้เกิดการเวียนศีรษะบ้านหมุน13
  • โรคความดันโลหิตสูง: ภาวะที่หลอดเลือดมีความดันสูงอย่างต่อเนื่อง เลือดจะไหลจากหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผ่านทางหลอดเลือด14 โรคความดันโลหิตสูงส่งผลกระทบต่อระบบการทรงตัว (ระบบประสาทส่วนปลายและ/หรือส่วนกลาง) และทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน15
  • โรคเบาหวาน9: ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่กระตุ้นอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน ทั้งนี้ สมองจะทำงานได้ไม่เต็มที่เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

ปัจจัย/ภาวะเสี่ยงที่ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน

นอกจากภาวะเหล่านี้ มีปัจจัย/ภาวะเสี่ยงที่ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการเวียนศีรษะบ้านหมุน ดังนี้

  • อายุ16: เมื่อเวลาผ่านไป จำนวนเส้นประสาทการทรงตัวจะลดลง ซึ่งทำให้ความสามารถในการทรงตัวและการมองเห็นเสื่อมลง

Search iconคุณทราบหรือไม่?

ร้อยละ 30 ของคนอายุมากกว่า 60 ปี และร้อยละ 50 ของคนอายุมากกว่า 85 ปี มีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน

  • ผู้หญิง มีความเสี่ยงในการเกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนมากกว่าผู้ชายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน วัยทองหรือภาวะประจำเดือนผิดปกติอาจทำให้การไหลเวียนเลือดไปยังหูชั้นในแย่ลง ซึ่งทำให้เกิดไมเกรนและปัญหาการทรงตัว6
  • อาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ17 อาจกระตุ้นให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนหรือทำให้เกิดโรคที่มีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน มีอาหารบางประเภทที่อาจส่งผลกระทบต่อความเข้มข้นของสารภายในหูและกระตุ้นให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น อาการเสียงรบกวนในหู ไมเกรน และการสูญเสียการทรงตัว ยกตัวอย่างเช่น การบริโภคแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไปจะเพิ่มความรุนแรงของอาการหลายประการ และก่อให้เกิดพิษต่อหูชั้นใน
  • ความเครียดและความกังวล มักพบว่าเป็นปัจจัยกระตุ้นอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน ความเครียดหรือความกังวลในระดับสูงอาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้าในระบบประสาทและความอ่อนเพลีย อีกทั้งยังเชื่อมโยงกับอาการวิงเวียนศีรษะ เหงื่อออกมาก และคลื่นไส้18
  • การขยับศีรษะ เช่น การนอนบนเตียงหรือการแหงนหน้า อาจกระตุ้นอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนได้ และเป็นอาการที่บ่งชี้ถึงโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน19
  • กรรมพันธุ์20: โรค/อาการบางประเภท เช่น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน และไมเกรน ที่สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเหล่านี้ เพิ่มโอกาสในการเกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน

ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลโดยย่อและกล่าวถึงสาเหตุบางประการเท่านั้น ในกรณีที่มีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน กรุณาปรึกษาแพทย์โดยเร็วเพื่อทำการวินิจฉัย และทำความเข้าใจอาการของคุณ

References

  1. Medscape. Vertigo: Identifying the Hidden Cause. https://reference.medscape.com/slideshow/vertigo-6001144#7. Published 2020. Accessed October 29, 2020.
  2. Bhattacharyya N, Gubbels S, Schwartz S et al. Clinical Practice Guideline: Benign Paroxysmal Positional Vertigo (Update) Executive Summary. Otolaryngol Head Neck Surg. 2017;156(3):403-416.
  3. NHS. Labyrinthitis and vestibular neuritis. nhs.uk. https://www.nhs.uk/conditions/labyrinthitis/. Published 2020. Accessed October 14, 2020.
  4. Smith T, Rider J, Cen S. Vestibular Neuronitis (Labyrinthis). https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK549866/. Published 2010. Accessed October 14, 2020.
  5. Vestibular Disorders Association. Vestibular Migraine. https://vestibular.org/article/diagnosis-treatment/types-of-vestibular-disorders/vestibular-migraine/. Published 2020. Accessed October 28, 2020.
  6. Vestibular Disorders Association. Hormones and Vestibular Disorders. https://vestibular.org/sites/default/files/page_files/Documents/Hormones%20and%20Vestibular%20Disorders.pdf. Published 2016. Accessed October 28, 2020.
  7. NHS. Multiple Sclerosis. nhs.uk. https://www.nhs.uk/conditions/multiple-sclerosis/#:~:text=Multiple%20sclerosis%20(MS)%20is%20a,it%20can%20occasionally%20be%20mild. Published 2020. Accessed October 14, 2020
  8. Vestibular Disorders Association. Causes of Dizziness. https://vestibular.org/article/what-is-vestibular/causes-of-dizziness/. Published 2020. Accessed October 29, 2020.
  9. The global diabetes community. Dizziness. https://www.diabetes.co.uk/symptoms/dizziness.html. Published 2020. Accessed October 14, 2020.
  10. Parkinson’s Foundation. What Is Parkinson’s?. https://www.parkinson.org/understanding-parkinsons/what-is-parkinsons. Published 2020. Accessed October 14, 2020.
  11. Marks J, Sanjai Sinha M. What Causes Vertigo and Who Is at Risk for It? | Everyday Health. EverydayHealth.com. https://www.everydayhealth.com/vertigo/causes-risk-factors/. Published 2020. Accessed October 14, 2020.
  12. Stroke Association. What is stroke? https://www.stroke.org.uk/what-is-stroke. Published 2020. Accessed October 29, 2020.
  13. Stroke Association. Balance problems after stroke. https://www.stroke.org.uk/sites/default/files/balance_problems_after_stroke.pdf. Published 2020. Accessed October 29, 2020.
  14. WHO. Hypertension. https://www.who.int/health-topics/hypertension/#tab=tab_1. Published 2020. Accessed October 29, 2020.
  15. Moreira M, Trelha C, Marchiori L, Lopes A. Association between complaints of dizziness and hypertension in non-institutionalized elders. Int Arch Otorhinolaryngol. 2014;17(02):157-162.
  16. Fernández L, Breinbauer H, Delano P. Vertigo and Dizziness in the Elderly. Front Neurol. 2015;6:44
  17. Vestibular Disorders Association. Dietary Considerations. https://vestibular.org/article/coping-support/dietary-considerations/. Published 2020. Accessed October 29, 2020.
  18. Morris L. Why does anxiety and stress cause me to be dizzy? Vestibular rehabilitation. https://www.neuropt.org/docs/default-source/vsig-english-pt-fact-sheets/anxiety-and-stress-dizziness4ca035a5390366a68a96ff00001fc240.pdf?sfvrsn=80a35343_0. Accessed October 29, 2020.
  19. Betterhealth.vic.gov.au. Benign paroxysmal positional vertigo (BPPV). https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/benign-paroxysmal-positional-vertigo-bppv#:~:text=Symptoms%20of%20BPPV,-Activities%20that%20bring&text=Getting%20out%20of%20bed%20or,called%20’top%20shelf%20vertigo’. Published 2020. Accessed October 30, 2020.
  20. Cha Y, Kane M, Baloh R. Familial Clustering of Migraine, Episodic Vertigo, and Ménière’s Disease. Otol. Neurotol. 2008;29(1):93-96.
THL2307489 EXP:(6-MAR-2026)