อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนคืออะไร?

อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนเป็นอาการหนึ่งของการเวียนศีรษะ

อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนคือ การที่รู้สึกว่ามีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ซึ่งผู้ป่วยมักอธิบายว่าตนเองรู้สึกว่ามีอาการเวียนศีรษะ และบางครั้งอธิบายว่ารู้สึกโลกเอียง อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนสามารถเกิดร่วมกับภาวะเสียการทรงตัว หน้ามืด และอาการวิงเวียนศีรษะ1 ภาวะหน้ามืดหมายรวมถึงอาการวิงเวียนศีรษะหรือความรู้สึกว่ากำลังจะหมดสติ1 เนื่องจากอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนกระตุ้นให้เกิดการสูญเสียการทรงตัว ซึ่งผลของการสูญเสียการทรงตัวที่พบได้บ่อยครั้งมากที่สุดประการหนึ่งคืออาจทำให้ล้มได้

อาการเสียการทรงตัวที่หมายถึงการรู้สึกเสียสมดุล โซเซ และไม่สามารถเปลี่ยนท่าทางได้ คืออาการสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน1

อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนอาจมีหลายรูปแบบ2

  • ผู้ป่วยบางรายมีอาการเวียนศีรษะสั้น ๆ เพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น
  • ผู้ป่วยบางรายมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนไม่บ่อย แต่มีอาการรุนแรงมากพอสมควร
  • สำหรับผู้ป่วยบางราย อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนอาจรุนแรงและเกิดขึ้นบ่อย ซึ่งส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวัน

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้มีความรู้สึกว่าเวียนศีรษะ ตัวสั่น หรือการทรงตัวผิดปกติไม่นาน แต่อาการดังกล่าวอาจส่งผลร้ายแรงได้ ความกลัวว่าอาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นซ้ำจะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรทั่วไปได้ เช่น การขับรถ และการข้ามถนน

สาเหตุของอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน

อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนมักเกิดจากความผิดปกติในหูชั้นใน หากอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนเกิดจากความผิดปกติของหูชั้นในและโครงสร้างรอบหูชั้นใน อาการดังกล่าวจะเรียกว่าอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลาย3 ทั้งนี้ ประเภทของอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลายที่พบได้มากที่สุดมีดังนี้4

  • โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน ซึ่งการขยับศีรษะในบางท่าทางทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน
  • หูชั้นในอักเสบ ซึ่งการติดเชื้อของหูชั้นในเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัด
  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ภาวะของหูชั้นในที่พบได้ยาก ซึ่งในบางครั้ง ทำให้ได้ยินเสียงรบกวนในหู หรือสูญเสียการได้ยิน

นอกจากนี้ อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนทำให้เกิดภาวะต่าง ๆ มากมายซึ่งบางกรณีอาจเป็นอันตราย หากคุณมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน ขั้นตอนแรกซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือ การปรึกษาปัญหานี้กับแพทย์ซึ่งเป็นบุคคลที่จะหาสาเหตุของอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนและช่วยคุณป้องกันไม่ให้เกิดอาการอีกในอนาคตได้ดีที่สุด!

อาการที่พบเมื่อมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน

โดยปกติแล้ว อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนจะแสดงอาการต่อไปนี้5

  • เวียนศีรษะหรือมีความรู้สึกว่าศีรษะหมุน
  • รู้สึกวิงเวียนศีรษะ
  • มีปัญหาการทรงตัว
  • คลื่นไส้ รู้สึกอยากจะอาเจียน
  • ไมเกรน

มีการออกกำลังกายหลายอย่าง ที่สามารถช่วยลดการเกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนและช่วยลดความถี่ในการเกิดอาการได้ การออกกำลังกายในท่านั่งและยืน และการเดินที่เกี่ยวกับการขยับศีรษะและดวงตาช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนได้6

คุณควรขอความช่วยเหลือทางการแพทย์โดยทันที ในกรณีที่มีอาการรุนแรง เช่น

  • มองเห็นภาพซ้อน
  • ได้ยินเสียงรบกวนในหู (หรือไม่ได้ยินเลย)
  • พูด เดิน หรือกลืนลำบาก

อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต

เนื่องจากผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการล้ม อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนจึงมีผลกระทบด้านจิตใจอย่างมีนัยสำคัญ อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนอาจทำให้เกิดความวิตกและความกังวลเนื่องจากความกลัวที่จะล้ม และความอ่อนเพลีย ซึ่งเกิดจากการไม่สามารถคาดเดาและควบคุมการเกิดอาการได้ อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนทำให้เกิดความกลัวผู้คนและสถานที่สาธารณะ อีกทั้งการตกอยู่ในสถานการณ์เหล่านี้อาจนำไปสู่อาการวิตกกังวลและโรคซึมเศร้าได้7 ดังนั้น อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนเรื้อรังทำให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตในสังคมได้ทุกแง่มุม ไม่ว่าในสถานที่ทำงานหรือในชีวิตส่วนตัว ผู้ป่วยอาจมีความกลัว ทั้งกลัวอาการของการเวียนศีรษะบ้านหมุนและอาจกลัวภาวะทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนอาจหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การออกไปเจอเพื่อนเพียงลำพัง

และการขับรถไปหาญาติ ซึ่งส่งผลให้รู้สึกว่าตนต้องแยกตัวจากสังคม และถอนตัวออกจากกิจกรรมทางสังคม7 ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยรายหนึ่งอาจรู้สึกเครียดและมีอาการวิตกกังวล เมื่อต้องพาลูกหรือหลานไปสวนสาธารณะ หรือต้องเล่นกีฬาด้วยกัน ผู้ที่มีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนจะหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การไปโรงละคร โรงภาพยนตร์ หรือคอนเสิร์ต ผู้ป่วยไม่ได้ร่วมกิจกรรมที่ชื่นชอบ และอาจกลัวว่าจะไม่ได้รับการยอมรับหรือเสียชื่อเสียง ซึ่งอาจนำไปสู่โรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้าได้ ในกรณีที่มีอาการเกี่ยวกับสุขภาพจิตเช่นนี้ ผู้ป่วยต้องพูดคุยและปรึกษากับแพทย์ ครอบครัว และเพื่อน เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือ

References

  1. Salvinelli F, Firrisi, M Casale, M Trivelli, L D’Ascanio, F Lamanna, F Greco, Costantino S. “What is vertigo?” Clin Ter. 2003; 154 (5): 341-348.
  2. Bateman K, Rogers C, Meyer E. An approach to acute vertigo. S Afr Med J. 2015;105(8):694.
  3. RACGP – An approach to vertigo in general practice. https://www.racgp.org.au/afp/2016/april/an-approach-to-vertigo-in-general-practice/. Published 2020. Accessed October 28, 2020.
  4. NHS. Vertigo. nhs.uk. https://www.nhs.uk/conditions/vertigo/. Published 2020. Accessed October 14, 2020.
  5. Victoria State government. Vertigo (BPPV). https://www.bettersafercare.vic.gov.au/sites/default/files/2019-07/Vertigo.pdf. Published 2020. Accessed October 28, 2020.
  6. Umc.edu. Vestibular exercises. https://www.umc.edu/Healthcare/ENT/Patient%20Handouts%20-%20ENT/Otology%20Handhouts/vestibular-exercises-2016.pdf. Published 2020. Accessed October 29, 2020.
  7. Yardley L, Todd A, Lacoudraye-harter M, Ingham R. Psychosocial consequences of recurrent vertigo. Psychol. Health. 1992;6(1-2):85-96.
THL2307488 EXP:(6-MAR-2026)